Cover บทความ trend seo ปี 2022

Trend SEO ปี 2022 รวมสิ่งที่คุณต้องรู้ [Google ปรับอะไรบ้าง?]

Cover บทความ trend seo ปี 2022

Trend SEO ปี 2022 รวมสิ่งที่คุณต้องรู้ [Google ปรับอะไรบ้าง?]

SEO เป็นวิธีทำการตลาดสำหรับเว็บไซต์ให้ถูกค้นเจอบน Google ในอันดับการค้นหาแรกๆ และให้ผู้ใช้งานจำนวนมากเข้าสู่เว็บไซต์ ซึ่งในแต่ละปี Google ก็มีการปรับเปลี่ยนอัลกอลิมทึม ที่เข้ามาจัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนำไปจัดอันดับให้ทรงพลังมากขึ้น

โดยการเปลี่ยนแปลงของ Google อัลกอลิมทึมนี้ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Trend SEO เพื่อเป็นการแนะนำแนวทางในการทำ SEO ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

บทความนี้เราได้รวมเอา Trend SEO ประจำปี 2022 ผสมผสานระหว่างการทำ On-Page และ การทำ Backlink ให้คุณได้อัปเดตความเปลี่ยนแปลงของ Google อัลกอลิมทึม และนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์การทำ SEO ให้เว็บไซต์ของคุณยังคงติดหน้าแรกบนหน้าค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[Trend SEO 2022] รวม 10 สิ่งที่คุณต้องรู้ในการทำเว็บไซต์ในปี 2022

[Trend SEO 2022] รวม 10 สิ่งที่คุณต้องรู้ในการทำเว็บไซต์ในปี 2022

1. แกนหลักในการทำ SEO ยังคงดำเนินต่อไป

แม้ว่าจะเข้าสู่ปี 2022 แล้ว แต่ Google ก็ยังคงให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานของการทำ SEO บนเว็บไซต์ที่มีความสม่ำเสมอ ตรงประเด็น และยั่งยืน ซึ่งได้แก่

  • การรักษาคุณภาพของคอนเทนต์ โดยยังคงใส่ใจกับการทำคอนเทนต์ที่ถูกต้อง มีความละเอียด เท่าทันกระแสการค้นหา มีคอนเทนต์แบบ original ที่สร้างขึ้นเอง รวมไปถึงการผลิตคอนเทนต์ที่เจาะลึกตาม keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและมีคนค้นหาจำนวนมากด้วย
  • การทำ On-Page SEO ตรวจสอบการเขียน Meta titles, Meta descriptions, ชื่อเรื่อง, คำอธิบายภาพ, เนื้อหาของบทความ ว่ามีการคิดและปรับปรุงวิธีเขียนให้ Google สามารถทำความเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน
  • เทคนิคต่างๆ ที่ส่งผลต่อเว็บไซต์ เช่น การปรับปรุงให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น การตอบสนองของหน้าเว็บไซต์ทั้ง UX/UI ที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้การเข้ามาเก็บข้อมูลของอัลกอลิทึมสามารถทำได้ง่ายขึ้น

2. Google ยังคงชอบคอนเทนต์แบบ Long form

ทางฝั่ง Google ยังคงเดินหน้าพัฒนาอัลกอลิทึม NLP (Natural Language Processing) เพื่อให้ Google bot ได้เรียนรู้ภาษาที่เราเขียนลงไปในคอนเทนต์ต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และนำไปแสดงผลการค้นหาตามสิ่งที่ผู้ใช้งานกำลังอยากรู้ได้ตรงประเด็น 

นั่นจึงทำให้คอนเทนต์ประเภท Long form หรือคอนเทนต์ที่มีเนื้อหายาวๆ มีโอกาสติดอันดับการค้นหาได้มากกว่า เนื่องจากมีความยาวของเนื้อหาให้ตรวจสอบมากพอ โดยสำหรับคอนเทนต์ที่เป็นภาษาไทยความยาวของเนื้อหาที่เหมาะสมต่อการเป็น Long form จะอยู่ที่ตั้งแต่ 1,500 คำขึ้นไป

ทั้งนี้ Google ก็ไม่ได้มองหาแต่ความยาวของคอนเทนต์เพียงอย่างเดียว แต่เนื้อหาที่อยู่ในคอนเทนต์นั้น จะต้องมีความถูกต้อง มีคุณภาพ เนื้อหาอธิบายได้อย่างลึกซึ่ง เขียนออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงตอบคำถามในสิ่งที่ผู้อ่านอยากรู้ด้วย

3. การใช้งาน IndexNow

ตอนนี้ทาง Google กำลังอยู่ในช่วงทดสอบการใช้งาน IndexNow กับเครื่องมือค้นหาแล้ว โดย IndexNow เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress ได้รับการพัฒนาโดย Microsoft ในปี 2021 ที่จะช่วยให้เครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine ต่างๆ สามารถพบเจอกับคอนเทนต์ใหม่ๆ ของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น 

ซึ่งเมื่อเว็บไซต์มีการติดตั้งปลั๊กอิน IndexNow แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลงคอนเทนต์ใหม่ การเพิ่มหรือลบเนื้อหา การอัปเดตเนื้อหา เครื่องมือนี้จะส่งข้อมูลการอัปเดตล่าสุดไปให้กับทาง Search Engine ได้รับรู้ทันที 

จึงช่วยให้ลดกระบวนการเข้ามาจัดเก็บข้อมูลของ Bot ลง และยังได้รับข้อมูลไป index ในฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้วย 

4. การทำเว็บให้ใช้งานง่ายบนมือถือ จะส่งผลต่อการทำ SEO มากขึ้น

ตั้งแต่ช่วงปี 2019 ทาง Google ได้ประกาศใช้ Mobile-first indexing หรือการ index ข้อมูลบนเว็บที่มีการทำให้ตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือเป็นลำดับแรก เนื่องจากในปัจจุบันมือผู้ใช้งานมือถือในการค้นหาสิ่งต่างๆ มากขึ้น

โดย Google Bot จะมองหาเว็บไซต์ที่มีเวอร์ชั่นสำหรับแสดงผลบนมือถือก่อน แล้วจึงให้ความสำคัญกับเว็บที่มีเวอร์ชั่น Desktop เป็นลำดับถัดไป 

คุณสามารถทดสอบว่าเว็บไซต์ของคุณตอบสนองได้ดี และเป็นมิตรต่อการใช้งานบนมือถือหรือไม่ กับ Google ได้ที่ https://search.google.com/test/mobile-friendly

สิ่งสำคัญในการทำเว็บไซต์เวอร์ชั่นมือถือ นั่นคือ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ ให้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้มากที่สุด โดยสิ่งที่เรียกว่า Lazy-loaded content ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญที่ช่วยให้เว็บแสดงผลได้ไวขึ้น 

ด้วยการเรียกโหลดเฉพาะเนื้อหาในส่วนที่ผู้ใช้งานกำลังเลื่อนดูอยู่ แทนที่จะเรียกโหลดในทีเดียวทั้งหน้าเว็บ จึงช่วยให้เว็บแสดงแสดงผลได้เร็วและผู้ใช้งานยังประหยัดอินเทอร์เน็ตในการเข้าใช้งานหน้าเว็บด้วย

นอกจากการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มิตรต่อการใช้งานบนมือถือกับผู้ใช้งานแล้ว ก็ต้องปรับให้ Google bot สามารถทำความเข้าใจหน้าเว็บในเวอร์ชั่นมือถือ และง่ายต่อการเข้ามาเก็บข้อมูลไป index ด้วย  

5. การทำ Video SEO ที่ละเอียดมากขึ้น

การทำคอนเทนต์ในรูปแบบวิดิโอ เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจเริ่มหันมาใช้งานและใช้เป็นเครื่องมือที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น 

การทำ Video SEO ที่ละเอียดมากขึ้น

ซึ่งในปีที่ผ่านมาทาง Google ได้ประกาศเปิดตัว Key Moment สำหรับคอนเทนต์ประเภทวิดิโอที่อัปโหลดบน YouTube หรือวิดิโอแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้ง่ายต่อการถูกค้นหาบน Google มากขึ้น

สำหรับการแสดงผลการค้นหาบน Google ของ Key Moment ไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่วิดิโออย่างเดียวเท่านั้น คุณแต่ยังสามารถทำ Timestamps เพื่อบอกให้ผู้ใช้งานว่าวิดิโอในช่วงไหนเล่าเรื่องอะไรบ้าง และให้เลือกคลิกเข้าไปในช่วงที่ต้องการดูได้เลย

ส่วนประกอบของ Key Moment แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • Clip video markup เป็นฟังก์ชันที่เปิดให้เจ้าของวิดิโอสามารถทำ Timestamps และป้ายกำกับเพื่อบอกกับผู้ใช้งานว่า แต่ละช่วงของวิดิโอมีคอนเทนต์อะไรบ้าง และหัวข้อไหน อยู่ที่วินาทีไหน 
  • Seek video markup เป็นการบอกกับ Google ว่าแต่ละช่วงเวลาที่ทำ Timestamps ไปนั้น เนื้อหาของวิดิโอมีอะไรบ้างด้วยการสร้าง URL เพื่อให้อัลกอลิทึมได้ทำความเข้าใจในเนื้อหาในแต่ละส่วน 

สำหรับส่วนประกอบของ Key Moment ที่ได้พูดถึงไป ในขณะนี้เป็นแค่เพียงช่วง beta เท่านั้น ในเร็วๆ นี้เราอาจได้เห็นฟีเจอร์อื่นๆ ของเครื่องมือนี้ ที่จะช่วยให้การทำ Video SEO ประสบความสำเร็จมากขึ้นอีกขั้น

6. การทำ SEO ให้ติดอันดับในพื้นที่เฉพาะ

ธุรกิจท้องถิ่นในหลายๆ พื้นที่ หากอยากให้ธุรกิจของคุณถูกรู้จักมากขึ้น และต้องการสร้างลูกค้าให้มากขึ้น การมีเว็บไซต์จะเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่จะทำให้ลูกค้าขับรถมาจอดถึงหน้าร้านคุณได้ก่อน เพราะตอนนี้ทาง Google ได้พยายามผลักดันผลการค้นหา ให้ออกมาในตำแหน่งใกล้เคียงผู้ค้นหา หรือในพื้นที่เฉพาะได้แล้ว

อย่างเช่น ถ้าผู้ค้นหากำลังไปเที่ยวพัทยา และค้นใน Google ว่า “ร้านอาหารในพัทยา” การแสดงผลบนหน้าค้นหา จะเลือกร้านที่อยู่ใกล้เคียงมากที่สุดขึ้นมาก่อน แล้วเรียงลำดับห่างออกไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ค้นหาสามารถเลือกร้านที่ใกล้ตัวได้สะดวกยิ่งขึ้น

ถ้าคุณอยากให้ธุรกิจหรือร้านค้าที่เป็นเจ้าของ ถูกค้นหาเจอผ่านตำแหน่งบน Google บ้าง สิ่งแรกที่ต้องทำคือการมีเว็บไซต์ เพื่อบอกให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าธุรกิจของคุณมีอะไรบ้าง และทำไมถึงต้องเลือกใช้บริการกับคุณ  

นอกจากนี้ต้องอย่าลืมระบุที่ตั้งของธุรกิจให้ชัดเจนว่าอยู่ที่ไหน จังหวัดอะไร ช่องทางการติดต่อมีอะไรบ้าง เพื่อให้ Google ได้เลือกนำเสนอธุรกิจของคุณขึ้นมาก่อน เมื่อมีการค้นหาจากตำแหน่งใกล้เคียง

7. การค้นหาด้วยเสียง จะส่งผลต่อ Search Queries

นอกจากการค้นหาด้วยเสียงผ่านมือถือแล้ว เหล่าลำโพงอัจฉริยะที่ใช้งานกันที่บ้านหรือสำนักงาน ก็เริ่มได้รับความนิยมในการใช้ค้นหาด้วยเสียงมากขึ้น

ซึ่งการค้นหาด้วยเสียง กับการค้นหาด้วยการพิมพ์ข้อความบน Google ก็มักจะมีความแตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้งาน 

เช่น ถ้าพิมพ์คำค้นเป็นคำว่า “เทรนด์ SEO ปี 2022” แต่เมื่อเป็นการค้นหาด้วยเสียงแล้ว อาจพูดว่า “เทรนด์การทำ SEO ใหม่ๆ ในปี 2022 มีอะไรบ้าง”

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าคำค้นหรือ Search Queries ด้วยเสียง แม้จะค้นด้วย Keyword เดียวกัน แต่จะมีความยาวของประโยคมากกว่าการพิมพ์หา เหมือนกับการใช้ภาษาพูดปกติในชีวิตประจำวัน ทำให้การวางแผนการทำ SEO เพื่อให้ถูกค้นหาเจอด้วยเสียง ก็อาจต้องปรับแผนให้มีการใช้ถ้อยคำที่ประโยคยาวและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

8. การใช้ Core Web Vitals ในการจัดอันดับเว็บไซต์

Google ต้องการให้เจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ มอบประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งานอยู่เสมอ 

นั่นจึงทำให้เกิดอัลกอลิทึมที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานบนหน้าเว็บเพจ ที่จะต้องมีความลื่น คล่องตัว โหลดเร็ว และตอบสนองในทุกฟังก์ชัน นั่นคือ Core Web Vitals ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการจัดอันดับเว็บไซต์ให้ติดอันดับที่ดีได้

โดย Core Web Vitals จะประกอบไปด้วยปัจจัย 3 อย่างนั่นคือ  

  • Largest Contentful Paint (LCP) คะแนนการโหลดและแสดงผลคอนเทนต์ของเว็บไซต์ ยิ่งโหลดเร็วยิ่งได้คะแนนดี
  • First Input Delay (FID) ความเร็วของการตอบสนองต่อผู้ใช้งาน เช่น ปุ่มต่างๆ คลิกแล้วโหลดทันทีหรือไม่
  • Cumulative Layout Shift (CLS) ความเสถียรของแต่ละหน้าเว็บเพจ มีการกระตุก ฟีเจอร์ทำงานได้ดีหรือไม่

ซึ่งถ้าหากเว็บไซต์สามารถปรับปรุงตามเกณฑ์ของ Core Web Vitals ได้ ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ได้รับคะแนนในการมอบประสบการณ์ให้ใช้งานที่ดี สามารถติดอันดับที่ดีในการค้นหาได้ง่ายขึ้น

9. MUM อัลกอลิทึมหาข้อมูลตัวใหม่ที่ล้ำมากขึ้น

ในตอนนี้ทาง Google กำลังอยู่ในช่วงทดสอบอัลกอลิทึมตัวใหม่ที่ชื่อว่า MUM (Multitask United Model) ซึ่งจะช่วยในการหาคำตอบให้กับผู้ใช้งานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 

โดย MUM จะมีความสามารถในการทำงานพร้อมกันได้หลายอย่าง ทั้งการวิเคราะห์เนื้อหาจากวิดิโอ รูปภาพ และแปลภาษา เพื่อทำความเข้าใจข้อมูลทั้งหมดได้พร้อมกัน และหาคำตอบที่ซับซ้อนออกมาให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งถ้าในเร็วๆ นี้มีการประกาศใช้ และคุณอยากให้ MUM เข้ามาเจอเว็บของคุณได้ง่าย และนำไปจัดอันดับที่ดี ก็จะต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ทั้งกับผู้ใช้งาน และอัลกอลิทึมให้มากยิ่งขึ้น ทั้งการทำเนื้อหาบทความ รูปภาพ วิดิโอที่ให้คำตอบกับผู้ใช้งานได้อย่างครอบคลุม

10. การแข่งขันขึ้นตำแหน่ง Featured Snippets จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

ในปีนี้การทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นสายขาวหรือ seo สายเทา เพื่อให้หน้าเว็บติดอันดับแรกๆ อาจไม่เพียงพอแล้ว เพราะการแข่งขันเพื่อให้เว็บติดบน Featured Snippets อาจจะมาแรงกว่า

การแข่งขันขึ้นตำแหน่ง Featured Snippets จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

โดยเมื่อผู้ใช้งานค้นหาอะไรบางอย่างที่อยากรู้คำตอบ Google จะแสดงผล Featured Snippets ที่มีลักษณะเป็นกล่องรวมภาพขึ้นมาเป็นอันดับแรก ซึ่งทาง Google bot จะเป็นผู้คัดเลือกจากการมองว่า คอนเทนต์ในเว็บไซต์นั้นให้คำตอบได้ดีต่อผู้ใช้งานได้ดี โดยที่ไม่ต้องพยายามไต่อันดับมาอยู่หน้าแรกก็ได้

ข้อดีของการติดผลการค้นหาบน Featured Snippets จะช่วยให้

  • ได้รู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน รู้ว่าผู้ใช้งานชอบคอนเทนต์แบบไหน เพื่อนำไปปรับใช้กับคอนเทนต์อื่นๆ ต่อได้
  • ช่วยสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บ เนื่องจาก Google เป็นผู้เลือกเอง
  • เพิ่มโอกาสการได้ traffic จำนวนมาก เพราะเว็บอยู่บนสุดและมีโอกาสที่จะถูกคลิกเข้ามามากกว่า

สรุป Trend SEO ปี 2022

ทุกๆ ปีการปรับเปลี่ยนของ Google อัลกอลิทึม ทำให้แผนการทำ SEO จะต้องปรับเปลี่ยน และปรับปรุงให้สอดคล้องอยู่เสมอ หากว่าธุรกิจของคุณมีเว็บไซต์แล้วยังคงใช้แผนกลยุทธ์แบบเดิมอยู่ตลอด โอกาสที่เว็บคู่แข่งจะแซงหน้าขึ้นสู่อันดับดีกว่าในหน้าค้นหาก็ยิ่งมีมากขึ้น

ถ้าหากคุณไม่อยากให้เว็บไซต์ต้องเสียอันดับที่ดีในการค้นหาไป การอัปเดตการเปลี่ยนแปลง ให้รวดเร็วและเท่าทันอยู่เสมอ ก็เป็นหนึ่งในอาวุธที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณทะยานอยู่ในอันดับการค้นหาที่ดีอยู่เสมอ