Cover-บทความ-On-page-SEO-คืออะไร

On-Page SEO คืออะไร? ทำแบบไหนถึงดีที่สุด

Cover-บทความ-On-page-SEO-คืออะไร

On-Page SEO คืออะไร? ทำแบบไหนถึงดีที่สุด

On-Page SEO เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการทำ SEO Marketing ที่จะบอกกับทั้งผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ และ Search Engine ได้รู้ว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวกับอะไร 

โดยการปรับแต่ง On-Page SEO ให้มีความเหมาะสมผสมผสานไปกับการทำ Off-Page SEO ที่ดี จะทำให้เว็บไซต์หรือหน้าเว็บเพจได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นบนหน้าค้นหา และยังส่งผลดีต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์ด้วย

มาทำความรู้จักกับการทำ On-Page SEO ให้มากขึ้น พร้อมเทคนิคการปรับแต่ง เพื่อให้เว็บไซต์ได้รับผลดีต่อการทำมากที่สุด

On-Page SEO คืออะไร? พร้อมองค์ประกอบที่สำคัญ

On-Page SEO คืออะไร? พร้อมองค์ประกอบที่สำคัญ

การทำ On-Page SEO หรือบางที่จะเรียกว่า On-site SEO เป็นการปรับแต่งเนื้อหาบนเว็บไซต์เพื่อให้ Search engine ได้ทำความรู้จักกับเว็บไซต์โดยเฉพาะ 

หรือจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ การทำ On-Page SEO ไม่ว่าจะเป็นสายขาวหรือสายเทา ก็เหมือนเป็นการพูดภาษาเดียวกับ Search engine ช่วยให้ bot หรืออัลอลิทึมที่เข้ามาสแกนหาข้อมูล ได้เรียนรู้จากองค์ประกอบต่างๆ บนเว็บไซต์ เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาและสิ่งที่เว็บไซต์ของเรากำลังทำอยู่

โดยเมื่อ Search engine ได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดบนเว็บไซต์แล้ว ก็จะสามารถให้คะแนน และนำไปจัดอันดับที่เหมาะสมต่อการค้นหาได้

ถอดองค์ประกอบสำคัญของ On-Page SEO

องค์ประกอบสำคัญของการทำ On-Page SEO ที่ช่วยให้อัลอลิทึมของ Search engine ได้เข้ามาทำความรู้จักและให้คะแนนกับเว็บไซต์ ได้แก่

1. คอนเทนต์บนเว็บไซต์ 

เป็นจุดสำคัญที่สุดของการทำ On-Page SEO เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานและ อัลอลิทึมของ Search engine จะเข้ามาอ่านหรือดูข้อมูลจากเนื้อหาที่อยู่ในเว็บไซต์ ซึ่งถ้าทำคอนเทนต์ออกมาได้ดีมีคุณภาพ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อการเข้ามาเก็บเกี่ยวข้อมูลจากทั้งผู้คนและบอทเอง

คอนเทนต์ที่ดีดูได้จากอะไร?

  • เนื้อหาที่ตรงความต้องการ โดยยิ่งผลิตเนื้อหาที่มีคนสนใจหรือยากรู้เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีผู้ใช้งานจำนวนมากเข้ามายังเว็บไซต์ 
  • เนื้อหาที่ได้รับ Backlink เนื่องจากอัลกอลิทึมไม่สามารถแยกได้เอง ว่าคอนเทนต์แบบไหนดีหรือไม่ดี ทำให้อัลกอลิทึมต้องยึดจากการได้รับ Backlink ของหน้าเพจนั้น เพื่อดูว่ามีคะแนนความน่าเชื่อถือ ที่ส่งมาจากเว็บไซต์อื่นๆ มากน้อยแค่ไหน 

2. แท็กชื่อเรื่อง หรือ Title tag 

Title tag เป็นชื่อหัวข้อแบบกระชับและตรงประเด็นของหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า ที่จะแสดงบนหน้าค้นหาของ Search engine เมื่อมีการค้นหาใน Keyword ที่ตรงกัน

ซึ่งส่วนนี้เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการทำ SEO เพราะเมื่อผู้ใช้งานมีการพิมพ์คำค้นหา ด้วยคำหรือประโยคที่ต้องการ เช่น 

ค้นหาด้วยคำว่า “Blacklink คือ” ตัวอัลกอลิทึมก็จะไปดึงเอาผลการค้นหาจาก Title tag ที่มีคำหรือประโยคที่ตรงกันจากเว็บไซต์ต่างๆ มาแสดงผลให้กับผู้ใช้งานได้เลือกเข้าไปอ่านหรือดูข้อมูลต่อ

3. การตั้งชื่อ URL

URL หรืออยู่ของเว็บไซต์ จะต้องมีการแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้อัลกอลิทึมของ Search engine สามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น

https://example.com/graphicdesign/…

โดยต่อจากชื่อ Domain ตามด้วย graphicdesign เพื่อเป็นการบอกกับอัลกอลิทึมว่า เนื้อหาในหน้าเว็บเพจนี้จัดอยู่ในหมวดของกราฟิกดีไซน์ เพื่อให้หน้าเว็บนี้ถูกอัลกอลิทึมนำไปจัดเป็นผลการค้นหาในหมวดของกราฟิกดีไซน์ได้ง่ายขึ้น

4. คำอธิบายภาพ หรือ Image alt text 

สำหรับคำอธิบายภาพในที่นี้ ไม่ใช่คำอธิบายภาพที่ผู้ใช้งานจะมองเห็น แต่อัลกอลิทึมของ Search engine จะมองเห็น 

เนื่องจากการใส่ภาพลงไปในเว็บไซต์ สิ่งที่อัลกอลิทึมจะมองเห็นไม่ใช่รูปภาพ แต่เป็นคำอธิบายภาพหรือ Image alt text ซึ่งจะแทรกอยู่ในโค้ดของเว็บไซต์ 

ซึ่งถ้าหากตั้งคำอธิบายภาพในที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา ก็จะส่งผลดีต่อการถูกจัดอันดับบนหน้าค้นหาได้เช่นเดียวกัน

7 เทคนิคปรับแต่ง On-Page SEO ให้เว็บไซต์ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น

1. ปรับแต่ง Title tag และ Meta description ให้โดน

แท็กชื่อเรื่อง หรือ Title tag เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่อัลกอลิทึมจะได้อ่านและนำไปแสดงผลการค้นหาที่ตรงกับ “คำค้นหา” ที่ผู้ใช้งานต้องการ 

เช่น ถ้าค้นหาบน Google ด้วยคำว่า “ขนมหวาน” 

ปรับแต่ง Title tag และ Meta description ให้โดน

ตัวอย่าง Meta tag และ Meta description จากการค้นหาคำว่า ขนมหวาน

Google จะไปดึงข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูล ที่มีคำว่า “ขนมหวาน” มาแสดงผล โดยที่ตัว Title tag จะเป็นส่วนตัวหนังสือสีน้ำเงิน ที่สามารถคลิกเพื่อเข้าไปอ่านเนื้อหาต่อได้

ส่วน Meta description จะเป็นคำอธิบายที่อยู่ต่อจาก Title tag เพื่อใช้อธิบายสั้นๆ ให้ผู้ค้นหาได้รู้ก่อนว่าเนื้อหาที่จะคลิกเข้าไปอ่านนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

ซึ่งถ้าหาก มีการปรับแต่ง Title tag และ Meta description ให้น่าอ่าน น่าคลิกเข้ามาอ่านต่อ ก็จะช่วยให้มี traffic เข้ามายังเว็บไซต์ได้มากขึ้น 

แต่สิ่งสำคัญเลยคือ การเขียนคำอธิบายของทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องไม่ใช่ลักษณะของการหลอกให้คลิก หรือ Clickbait เพราะถ้าผู้ค้นหาเข้าไปอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้วพบว่า ไม่ตรงกับ Title tag และ Meta description โอกาสที่คนจะกดปิดหน้าเว็บก็จะมีมากขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่ออันดับการค้นหาอย่างแน่นอน

2. เขียนคอนเทนต์ให้น่าอ่าน

การทำคอนเทนต์ที่เป็นบทความหรือข้อมูลบนเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการทำ On-Page SEO ไม่ว่าจะเป็นสายขาวหรือสายเว็บพนันเพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานจะเข้ามาอ่าน และได้ทำความรู้จักกับธุรกิจของเราได้มากขึ้น

ซึ่งถ้า Search engine พบว่าผู้ใช้งานเข้ามาดูหรืออ่านคอนเทนต์เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาในเว็บไซต์นาน หรือมีการสร้าง Backlink กลับมาให้ ก็จะมีผลต่อการได้รับคะแนน และผลต่ออันดับที่ดีบนหน้าค้นหาด้วย 

แต่การจะทำให้หน้าคอนเทนต์เหล่านี้ สามารถติดอันดับการค้นหาบน Search engine ได้ ก็จะต้องเขียนเนื้อหาออกมาให้น่าอ่าน เข้าใจง่าย และผู้ใช้งานได้ประโยชน์จากการเข้ามาอ่าน 

เทคนิคในการเขียนคอนเทนต์บนเว็บไซต์ให้น่าอ่าน

  • ทำหัวเรื่องเพื่อแบ่งเนื้อหาให้เป็นสัดส่วน
  • แบ่งหัวข้อย่อย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว
  • แทรกภาพเข้าไประหว่างเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจบริบท หรือคำอธิบายที่ชัดเจนมากขึ้น
  • ใช้คำศัพท์เฉพาะให้น้อย หรือถ้ามีก็ต้องอธิบายความหมายของคำเหล่านั้นให้ชัดเจน

3. ปรับแต่งภาพที่อยู่ในเว็บไซต์

รูปภาพเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เว็บไซต์มีชีวิตชีวามากขึ้น และยังทำให้ผู้ใช้งานได้เห็นภาพหรือคำอธิบายที่ชัดเจนขึ้นด้วย 

แต่การใส่ภาพเพียงอย่างเดียว ก็ยังไม่สามารถทำให้ Search engine รู้จักรูปภาพเหล่านั้นได้ ถ้าไม่มีการปรับแต่งภาพนั้นให้เหมาะสมต่อการทำ SEO 

การปรับแต่งรูปภาพให้เว็บติดอันดับการค้นหา

  • ขนาดภาพ ขนาดของภาพต่างๆ ที่อัปโหลดขึ้นไปบนเว็บไซต์ ถ้าหากว่ามีขนาดใหญ่มากเกินไป จะทำให้เว็บไซต์โหลดได้ช้าลง จนส่งผลต่อการติดอันดับของเว็บไซต์ และเพื่อไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นจึงต้องบีบอัดภาพต่างๆ ให้มีขนาดเล็กลง ก่อนที่จะอัปโหลดลงไปบนเว็บไซต์
  • ใส่คำอธิบายภาพ หรือ Image alt text เพื่อให้อัลกอลิทึมสามารถอ่าน และทำความเข้าใจได้ว่ารูปภาพเหล่านั้นเกี่ยวกับอะไร

4. ปรับแต่ง URL ให้เรียบร้อย

URL ก็เป็นสิ่งที่ Search engine ใช้อ่านเบื้องต้นว่าเนื้อหาในเว็บเพจนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งถ้าคุณต้องการให้เว็บไซต์ได้รับการจัดอันดับที่ดี ก็ต้องปรับแต่ง URL ให้มีความเรียบร้อยและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาองค์รวมให้หน้าเว็บเพจนั้นด้วย

ตัวอย่างของ URL ที่ยังไม่ได้ปรับแต่ง 

https://www.geekgamer.com/znkj/lj-0e/549uf

จะเห็นได้ว่า URL นี้ ต่อจากชื่อเว็บไซต์ จะเป็นชุดตัวเลขแบบสุ่มที่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า หน้าเว็บเพจนี้เกี่ยวข้องกับอะไร

แต่ถ้าหากมีการปรับแต่งให้เรียบร้อยและเหมาะสมกับหน้าเว็บเพจ เป็น

https://www.geekgamer.com/ps5/game/FIFA

ก็จะเป็นการใส่หมวดหมู่ และบอกเนื้อหาคร่าวๆ ได้ว่าเว็บเพจหน้านี้มีเนื้อหาแบบไหน ซึ่งจะช่วยให้ Search engine และผู้ใช้งานได้ทำความเข้าใจภาพรวม และความเกี่ยวข้องของหน้าเว็บเพจนี้ได้ง่ายขึ้น

อีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต่อการทำ On-Page SEO นั่นคือการทำ Internal link หรือลิงก์ภายในเว็บไซต์ ที่เป็นการลิงก์จากหน้าเพจหนึ่งไปยังอีกหน้าเพจหนึ่งภายในเว็บไซต์ 

ซึ่งข้อดีของการทำ Internal link นั่นคือ 

  • ช่วยให้อัลกอลิทึมของ Search engine ได้พบหน้าใหม่ๆ ภายในเว็บไซต์และนำไปจัดเก็บในคลังข้อมูลการค้นหา
  • ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาอ่าน ได้ใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากจะได้คลิกไปอ่านหรือดูเนื้อหาอื่นๆ ต่อเรื่อยๆ

6. ทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นไปอีก

ความเร็วของการโหลดหน้าเว็บ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานในปัจจุบันให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยความเร็วที่เหมาะสมต่อการโหลดควรอยู่ที่ 3 วินาทีหรือน้อยกว่า เพราะถ้าโหลดช้ากว่านี้ โอกาสที่ผู้ใช้งานจะกดปิดหน้าเว็บของเราก็จะมีมากขึ้น

เว็บของคุณโหลดได้เร็วแค่ไหน มาลองวัดสปีดได้ที่ https://pagespeed.web.dev/

ซึ่งเมื่อเกิดการ bounce หรือผู้ใช้งานกดเข้ามาที่หน้าเว็บแล้วกดปิดในทันที หากมีจำนวนที่เยอะขึ้น ทาง Search engine ก็จะคิดว่าผลการค้นหานี้ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน จะทำให้เว็บไม่ได้ถูกจัดเอาไว้ในลำดับแรกๆ

ตัวอย่างการทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้น ได้แก่

  • บีบอัดและลดขนาดไฟล์ภาพ
  • ลดขนาดของการเขียนโค้ดลง เช่น เขียนโค้ดให้สั้นลง ย่อความยาวตัวแปร ลบช่องว่าง ลบคอมเมนต์
  • ลดการ redirect หรือเปลี่ยนเส้นทางของ URL ลง

7. ออกแบบเว็บไซต์ให้ตอบสนองต่อการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

การออกแบบเว็บไซต์ให้ตอบสนองต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญของการทำ On-Page SEO เช่นเดียวกัน 

โดยเฉพาะในตอนนี้ที่การค้นหาส่วนใหญ่ จะมาจากอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง สมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต ถ้าหากไม่มีการปรับให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองกับทุกขนาดหน้าจอ เช่น ปรับให้มีขนาดพอดีกับสมาร์ทโฟน ตัวหนังสืออ่านง่าย ภาพมีขนาดพอดี โอกาสที่คนจะกดปิดเว็บไซต์ของเราไปเลยก็มีมากเช่นกัน

และการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตอบสนองต่ออุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile-friendly) ก็มีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์เช่นกัน โดย Search engine อย่าง Google จะให้ความสำคัญกับการเลือกเว็บไซต์ที่มี mobile version มาจัดอันดับในการค้นหาเป็นอันดับแรกๆ 

สรุปเนื้อหาการทำ On-Page SEO

ในการทำ On-Page SEO เพื่อให้เว็บไซต์มีความเป็นมิตรต่อการทำ SEO หรือ SEO Friendly นั่นคือ การทำคอนเทนต์ให้ย่อยง่าย ผู้อ่านได้ประโยชน์กลับไป พร้อมกับการใช้เทคนิค On-Page SEO ที่ทำให้ Search engine ได้ทำความเข้าใจกับเว็บไซต์ของเราควบคู่กันไปกับการทำการตลาดแนวอื่นๆ ด้วย

เพราะหากมุ่งไปแต่การทำ On-Page SEO เพื่อหวังจะให้ Search engine ได้รับรู้และให้คะแนนเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว แต่ผู้อ่านหรือผู้ใช้งานที่เข้ามาในเว็บไซต์ไม่ได้รับข้อมูลหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ 

เมื่อเว็บไซต์ไม่สร้างประโยชน์อะไรให้กับผู้ใช้งานเลย ผลลัพธ์สุดท้ายจะทำให้การเข้าถึงลดลง อัตราการกดออกจากหน้าเว็บสูงขึ้น จนทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถกลับมาติดอันดับบนหน้าค้นหาได้อีก